วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ชาวบ้านฮือฮา! พญานาคเล่นน้ำที่บึงโขลง



นักวิชาการเผย
เคยเกิดในไทย แต่ไม่บ่อยนัก และไม่เป็นอันตราย

ชาว บ้านอ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย
ต่างฮือฮากับปรากฏการณ์ประหลาด ที่เชื่อว่าน่าจะเป็น พญานาคออกมาเล่นน้ำ
โดยมีชาวบ้านรายหนึ่งสามารถถ่ายคลิปวีดิโอเก็บไว้ โดยในภาพมีพายุหมุนคล้ายงวงช้าง ไม่มีไม่มีลมพัด
เกิดขึ้นประมาณ 10 นาที ซึ่งเหตุที่ชาวบ้านเชื่อว่าพญานาคออกมาเล่นน้ำ เพราะก่อนหน้านี้
คนในหมู่บ้านช่วยกันจัดระเบียบของ บึงใหม่ ให้มีความสะอาดเรียบร้อย

เมื่อ ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัย และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่ง
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงปรากฏการณ์พายุงวงช้างว่า
ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่วนใหญ่มักจะเกิดในน้ำ โดยเฉพาะในทะเลจะเห็นบ่อยกว่าในน้ำจืด
สำหรับประเทศไทยเคยเกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้น แต่ไม่บ่อยนัก และไม่เป็นอันตราย เพราะมีขนาด 1%
ของพายุทอร์นาโด

ทั้งนี้ลักษณะการเกิด
“พายุงวงช้าง” หรือ “นาคเล่นน้ำ” มี 2 แบบ ได้แก่

1. เป็นพายุทอร์นาโด
ที่เกิดขึ้นเหนือผืนน้ำ (ซึ่งอาจจะเป็นทะเล ทะเลสาบ หรือแอ่งน้ำใดๆ)
โดยพายุทอร์นาโดจะเกิดขึ้นระหว่างที่ฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก เรียกว่า พายุฝนฟ้าคะนองแบบซูเปอร์เซลล์
(Supercell thunderstorm) และมีระบบอากาศหมุนวนที่เรียกว่า เมโซไซโคลน (Mesocyclone)
จึงเรียกพายุนาคเล่นน้ำแบบนี้ว่า นาคเล่นน้ำที่เกิดจากทอร์นาโด (Tornado waterspout)

2.
เกิดจากการที่มวลอากาศเย็น เคลื่อนผ่านเหนือผิวน้ำที่อุ่นกว่า โดยบริเวณใกล้ๆ ผิวน้ำมีความชื้นสูง
และไม่ค่อยมีลมพัด (หรือถ้ามีก็พัดเบาๆ)
ผลก็คืออากาศที่อยู่ติดกับผืนน้ำซึ่งอุ่นในบางบริเวณจะยกตัวขึ้นอย่างรวด เร็วและรุนแรง
ทำให้อากาศโดยรอบไหลเข้ามาแทนที่ จากนั้นจึงพุ่งเป็นเกลียวขึ้นไป แบบนี้เรียกว่า “นาคเล่นน้ำ” (True
waterspout) ซึ่งมักเกิดในช่วงอากาศดีพอสมควร (fair-weather waterspout) อาจเกิดได้บ่อย
และประเภทเดียวกับกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
เนื่องจากในช่วงที่เกิดมักจะมีพายุฝนฟ้าคะนองร่วมอยู่ด้วย

แต่ความแตก ต่างของ 2 แบบนี้ก็คือ
นาคเล่นน้ำที่เกิดจากทอร์นาโดจะเริ่มจากอากาศหมุนวน (ในบริเวณเมฆฝนฟ้าคะนอง)
แล้วหย่อนลำงวงลงมาแตะพื้น คืออากาศหมุนจากบนลงล่าง
ส่วนนาคเล่นน้ำของแท้จะเริ่มจากอากาศหมุนวนบริเวณผิวพื้นน้ำ แล้วพุ่งขึ้นไป คืออากาศหมุนจากล่างขึ้นบน
ในช่วงที่อากาศพุ่งขึ้นเป็นเกลียววนนี้ หากน้ำในอากาศยังอยู่ในรูปของไอน้ำ เราจะยังมองไม่เห็นอะไร
แต่หากอากาศขยายตัวและเย็นตัวลงถึงจุดหนึ่ง ไอน้ำก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำจำนวนมาก ทำให้เราเห็นท่อหรือ
“งวงช้าง” เชื่อมผืนน้ำและเมฆ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “พายุงวงช้าง”

โดยส่วนใหญ่ มีความยาวประมาณ
10 – 100 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีตั้งแต่ 1 เมตร ไปจนถึงหลาย 10 เมตร
โดยในพายุอาจมีท่อหมุนวนเพียงท่อเดียวหรือหลายท่อก็ได้ แต่ละท่อจะหมุนด้วยอัตราเร็วในช่วง 20-80
เมตรต่อวินาที กระแสลมในตัวพายุเร็วถึง 100 – 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจสูงถึง 225
กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถคว่ำเรือเล็กๆ ได้สบาย ดังนั้น
ชาวเรือควรสังเกตทิศทางการเคลื่อนที่ให้ดี แล้วหนีไปในทิศตรงกันข้าม นอกจากนี้
พายุชนิดนี้ยังสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วตั้งแต่ 3 – 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แต่ส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่ค่อนข้างช้าประมาณ 18 – 28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้
พายุนี้มีอายุไม่ยืนยาวนัก คืออยู่ในช่วง 2 – 20 นาที
จากนั้นก็จะสลายตัวไปในอากาศอย่างรวดเร็ว




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น